วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

SU Model

SU Model




         SU MODEL คือ รูปแบบจำลองโลกแห่งการศึกษา โดยประกอบด้วยวงกลม ซึ่งเปรียบเสมือนโลกที่มีองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ คือ 
1) พื้นฐานทางปรัชญา
2) พื้นฐานทางจิตวิทยา 
3) พื้นฐานทางสังคม 
โดยมีสามเหลี่ยมแห่งการศึกษาที่มีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่
Ø ด้านความรู้ กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง
Ø ด้านผู้เรียน กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเองมีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
Ø ด้านสังคม กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา
                ในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต้องตอบสนองด้านผู้เรียน ด้านสังคมและด้านความรู้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานทางการพัฒนาที่สำคัญ คือ พื้นฐานทางสังคม พื้นฐานทางจิตวิทยาและพื้นฐานทางปรัชญา ภายในสามเหลี่ยมการศึกษาจะประกอบด้วยสามเหลี่ยมเล็กๆ 4 ภาพ ซึ่งเป็นการจำลองขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตรของ Tyler โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 คือ การวางแผน (Planning) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยความรู้ (Knowledge) และจะสอดคล้องกับคำถามที่หนึ่งของไทเลอร์ คือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องวางแผนให้มีเนื้อหาครบคลุมในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และต้องเรียน
ขั้นตอนที่ 2 คือ การออกแบบ (Design) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา เพราะว่าหลักสูตรต้องออกแบบมา เพื่อให้จัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้แก่นักเรียน
ขั้นตอนที่ 3 คือ การจัดการหลักสูตร (Organize) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner)ความรู้ (Knowledge) และสังคม (Society) จะสอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือ จัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ เพราะว่าการจัดการหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพ คือ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้และบรรลุวัตถุประสงค์พร้อมกับสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ในสังคม
ขั้นตอนที่ 4 คือ การประเมิน (Evaluate) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยสังคม (Society) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียนความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม


วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

NPU Model

NPU Model

         NPU Model คือ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้วิจัยเป็นฐาน 
ที่มาจากนิยามศัพท์ของการวิจัย 
         ที่ว่าการวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้  ผู้วิจัยนำแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์มาเป็นสาระสําคัญ ประกอบด้วย การทําความกระจ่างชัดในความรู้การเลือกรับและทําความเข้าใจ สารสนเทศใหม่และการตรวจสอบทบทวนและใช้ความรู้ใหม่ในทำนองเดียวกันผู้วิจัยได้ศึกษาแบบจำลอง  Biggs 3’P Model ตัวแปรก่อนเรียน (Presage) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Product) สอดคล้องกับแนวคิดการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Treffinger, Isaksen and Dorval, 2000) ประกอบด้วย
1)  ความเข้าใจที่ท้าทาย (Understanding the Challenge) มุ่งค้นหาจุดหมาย (goal) โอกาส (oppor-tunity) ความท้าทาย (Challenge) ความกระจ่างชัด (clarifying) คิดแผนการ (formulating) เพื่อกำหนดกรอบ ความคิดสำคัญในการปฏิบัติงาน
2)  การสร้างมุมมองในการคิดแก้ปัญหา (Generating Ideas)
3)  การเตรียมทั้งวิธีการในการปฏิบัติงานและความสำเร็จในการปฏิบัติงาน (Preparing for Action)
ผู้วิจัยได้สังเคราะห์เป็นแบบจำลองการสอน เรียกว่า NPU Model ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 N- Need Analysis

1.1 วิเคราะห์จุดหมายในการเรียนรู้นักศึกษาวิเคราะห์หลักการจัดการศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และจุดหมายของการศึกษาในระดับสากล (World class Education) เพื่อกำาหนดจุดหมายในการเรียนรู้วิชา การพัฒนาหลักสูตร” และนำไปกำหนดจุดหมายของหลักสูตรที่นักศึกษาจะต้องพัฒนาขึ้น
1.2 การวางแผนการเรียนรู้ผู้เรียนวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
1) กำหนดกลยุทธการพัฒนาตนเองจากการศึกษาเอกสารหนังสือหลักฐานร่องรอยหรือการสืบค้นในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือปฏิบัติกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
2) จัดทําปฏิทินและเครื่องมือในการกำกับติดตามเพื่อการประเมินตนเองในการพัฒนาหลักสูตร

ขั้นที่  2 P-/Praxis

2.1 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้นักศึกษาศึกษาเรียนรู้ด้วย การแสวงหาและใช้แหล่งการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้ร่วมกันการใช้วิธีการต่างๆ ในการเรียนรู้ และการตรวจสอบความรู้ "กระบวนการพัฒนาหลักสูตร"
2.1.1 การแสวงหาและใช้แหล่งการเรียนรู้
2.1.2 การใช้วิธีการต่างๆ ในการเรียนรู้
2.1.3 การตรวจสอบความรู้นักศึกษาจะได้รับการสนับสนุนให้ทํากิจกรรมการ
ปฏิบัติการใช้คอมพิวเตอร์และกิจกรรมกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนความคิดของนักศึกษาเปิดการอภิปราย
ให้กว้างขวางเสนอหลักฐานร่องรอยของความคิดของนักพัฒนาหลักสูตรเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้
อภิปรายกับกลุ่มเพื่อนภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้ที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน
2.2 การสรุปความรู้และการวิพากษ์ความรู้ผู้สอนส่งเสริมให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิด
กระบวนการพฒนาหลักสูตร” โดยใช้ภาษาของตนเองสอบถามถึงหลักฐานและความชัดเจนในการอธิบายของนักศึกษาที่ใช้ความรู้เดิมหรือประสบการณ์ที่มีมาก่อนของผู้เรียนเป็นพื้นฐานในการ
อธิบายในส่วนการวิพากษ์ความรู้ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนขยายความรู้ความเข้าใจใน
กระบวนการพฒนาหลักสูตร” ของนักศึกษาโดยผ่านประสบการณ์ใหม่ๆผู้เรียนจะได้รับการ
สนับสนุนให้นําความรู้ปรับใช้กับประสบการณ์ ในชีวิตจริงโดยผ่านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
นักศึกษานำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ โดยการพัฒนาหลักสูตรเพิ่มขึ้น

ขั้นที่ 3 U-Understanding

การตรวจสอบทบทวนตนเองด้วยการประเมินความเข้าใจในการเรียนรู้ - การประเมินความรู้ส่งเสริมให้นักศึกษาประเมินความรู้และความสามารถของตนเอง ประเมินความก้าวหน้าในการเรียนและประเมินการบรรลุจุดหมายการศึกษา ผู้วิจัยได้สังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและนำเสนอเป็นแบบจำลองการเรียนการสอน เรียกว่า NPU Model

DRU Model

DRU Model
การจัดการศึกษามี 3  รูปแบบดังนี้              

     1. การศึกษาในระบบ  เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย  วิธีการศึกษา หลักสูตร  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและการประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน                                                  

     2. การศึกษานอกระบบ  เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา  โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกล                                                                                                                                                                 
     3. การศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล  ประสบการณ์  สังคม  สภาพแวดล้อม  สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ
                 
                 ด้านความรู้ (Knowledge)  กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง

                 ด้านผู้เรียน (Learner)  กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

                 ด้านสังคม (Society) จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับ      ผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา

จากรูปแบบการศึกษาตลอดชีวิต  จะสอดคล้องกับแนวความคิดของไทเลอร์ ขั้น จะได้สามเหลี่ยม ภายในวงกลมสี่รูป ได้แก่
1.สามเหลี่ยมแรก การวางแผน ( Planning) อาศัยแนวคิดพัฒนาหลักสูตรของ ไทเลอร์คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร กำหนดจุดหมายหลักสูตร

2. สามเหลี่ยมรูปที่สอง การออกแบบ (Design) นำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาจัดทำกรอบการปฏิบัติ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์ศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา การออกแบบหลักสูตรเพื่อให้มีจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ตอบสนอง  จุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

3.สามเหลี่ยมรูปที่สาม การจัดระบบหลักสูตร (Organize) จัดหลักสูตรเพื่อตอบสนองการวางแผนหลักสูตร สองคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือ จัดประสบการณ์เรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ  การจัดระบบหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึงการบริหารที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้  และรวมถึงการนิเทศการศึกษา

4.สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมิน (Evaluation) ประเมินทั้งระบบหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร



 P = Planning (การวางแผน)                             C = Cognitive network  (ความรู้ความกระจ่างชัด)
 D = Design  (การออกแบบและการพัฒนา)     A = Affective network (การเรียนรู้จากเพื่อนร่วมวิชาชีพ)
 M = Management (การจัดการ,การควบคุม)     L = Learning (การเรียนรู้)
 S = Strategic network (กลวิธี)                         A = Assessment (การประเมินค่า)   

 E = Evaluation  (การประเมินผล)


 จากรูปด้านดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็นดังนี้



                 สามเหลี่ยมรูปที่ 1
                       ามเหลี่ยม (D) การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้    
                 จะนำไปสู่  ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ดังนี้
                       1. P = Planning  (การวางแผน)
                       2. D = Design  (การออกแบบและการพัฒนา)
                       3. C = Cognitive network  (ความรู้ความกระจ่างชัด)
                       4. A = Affective network (การเรียนรู้จากเพื่อนร่วมวิชาชีพ) 




                 สามเหลี่ยมรูปที่  2
                              สามเหลี่ยม (R) ขั้นการวิจัยเพื่อกำหนด
                 สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้จะนำไปสู่ขั้นตอน
                 การจัดการเรียนรู้ดังนี้
                        1. C = Cognitive network  (ความรู้ความกระจ่างชัด)
                        2. L = Learning (การเรียนรู้)
                        3. M = Management (การจัดการ,การควบคุม) 
                        4. S = Strategic network  (กลวิธี)


           สามเหลี่ยมที่  3
                 สามเหลี่ยม (U) การตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด UDL 
           เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้จะนำไปสู่ขั้นตอน
           การจัดการเรียนรู้ดังนี้
                 1. A = Assessment (การประเมินค่า)
                 2. S = Strategic network  (กลวิธี)
                    3. A = Affective network (การเรียนรู้จากเพื่อนร่วมวิชาชีพ) 
                 4. E = Evaluation  (การประเมินผล)


          
             จากขั้นตอนการจัดรูปแบบการเรียนรู้  จะเห็นได้ว่า  การจัดรูปแบบการเรียนรู้ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอน
โดยมีการวางแผน  การออกแบบมาเป็นอย่างดีเพื่อใช้เป็นแบบแผนหรือแนวทางในการปฏิบัติการเรียนการสอนเพื่อให้
บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้เฉพาะ ซึ่งจะนำมาใช้ในการพัฒนาเพื่อกำหนดลักษณะขององค์ประกอบการเรียนรู้  นำวิธีการเชิงระบบมาจัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการเรียนรู้  และสามารถปรับใช้ให้เหมาะสม


วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

คำอธิบายรายวิชา : การวิจัยทางการศึกษา

คำอธิบายรายวิชา : การวิจัยทางการศึกษา
รหัสวิชา : 1042401

ชื่อวิชา : การวิจัยทางการศึกษา

หน่วยกิต : 3(2-2-5)

คำอธิบายรายวิชา :
       การศึกษาความหมายทฤษฎีการวิจัยและลักษณะของการวิจัยประโยชน์และความสำคัญของการวิจัย จรรยาบรรณนักวิจัย รูปแบบการวิจัย การออกแบบการวิจัย กระบวนการวิจัย สถิติเพื่อการวิจัย การวิจัยในชั้นเรียนการเสนอโครงการเพื่อทำวิจัยการฝึกปฏิบัติการวิจัยทางการศึกษาการเขียนรายงานการวิจัยการนำเสนอผลการวิจัยการศึกษาค้นคว้างานวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ การใช้กระบวนการวิจัยเพื่อ พัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน

นางสาวกัญฑิมา  มาเกิด  รหัส 5641060130 ห้อง 12
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำอธิบายรายวิชา : การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์

คำอธิบายรายวิชา : การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์


รหัสวิชา : 1024104

ชื่อวิชา (ภาษาไทย) : การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์

ชื่อวิชา (ภาษาอังกฤษ) : Science Teaching Models Development

หน่วยกิต : 3(2-2-5)

คำอธิบายรายวิชา (ภาษาไทย) :
     ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบต่าง ๆ รูแปบบการสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับการสอนชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์เพื่อพัฒนาบุคคล การเลือกรูปแบบการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนและชั้นเรียน การทดลองสอนตามรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น

คำอธิบายรายวิชา (ภาษาอังกฤษ) :
     Basic knowledge about teaching of science in various patterns to improve the intelligence and cognitive process; teaching model for biology, chemistry and physic education for individual development; the selection of teaching pattern to suit with students and classes; the teaching trial by the developed model.

ปีที่ใช้หลักสูตร : 2556-2558
ความรู้ (การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์)
(ก) สาระความรู้ 1. หลักการแนวคิด,แนวปฏิบัติในการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์
                    2. การใช้และผลิตงาน การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
(ข) สมรรถนะ   1. สามารถนำการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
                    2. สามารถทำการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนแล้วนำไปพัฒนาผู้เรียน
                       - พัฒนาคุณภาพ (ผู้บริหารเรียน)
                       - กระบวนการเรียนรู้ (นักเรียน)
                       - การพัฒนาการเรียนรู้ (ครู)
การปฏิบัติ (วิจัยทางการศึกษา)
          1. วิเคราะห์ความต้องการ
          2. การวางแผนการจัดการเรียนรู้
          3. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
          4. เก็บรวบรวมข้อมูล
          5. สรุปผลการแก้ปัญหาตารางงานรายสัปดาห์
ระดับคุณภาพ 
                                                            

                                             A        = 81-100       B+      = 76-80
                                             B        = 71-75         C+      = 66-70
                                             C        = 61-65         D+      = 56-60
                                                                    D        = 51-55         F        = 0-50

ตารางงานรายสัปดาห์

สัปดาห์
รายละเอียดกิจกรรม
หมายเหตุ
1
ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์
2
ศึกษารูปแบบการสอนแบบต่างๆ
3
ศึกษาการพัฒนาสติปัญญา
4
ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
5
ศึกษารูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับการสอนชีววิทยา เคมี และฟิกส์เพื่อพัฒนาบุคคล
6
ศึกษาการเลือกรูปแบบการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนและชั้นเรียน
7
ศึกษาหลักการหลักสูตรการจักการเรียนการสอน
8
ศึกษางานวิจัย Tyler
9
ศึกษาความหมาย  SU Model
10
ศึกษารูปแบบ  SU Model
11
ศึกษาความหมาย  NPU Model  
12
ศึกษาความหมาย  LRU Model
13
ศึกษาความหมาย  DRU Model
14
ศึกษารูปแบบ  DRU Model
15
ศึกษาค้นคว้าตัวอย่างงานแผนการสอน
16
นำเสนอแผนการสอนรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์


นางสาวกัญฑิมา มาเกิด  รหัส 5641060130 ห้อง 12 
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี